|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.1 สภาพทางภูมิศาสตร์
เทศบาลตำบลบางพลีมีพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,875 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของหมู่ 6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 11 ของตำบลบางพลีใหญ่ พื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3 ตำบล บางโฉลง และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลบางปลา ระยะทางจากเทศบาลถึงศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนสายเทพารักษ์ ถึงสำโรงเหนือแล้วต่อไปทางถนนสุขุมวิท จะเป็นระยะทางรวม 17 กิโลเมตร ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ไปทางถนนกิ่งแก้วออกถนนบางนา-ตราด ถึงสี่แยกบางนา-ตราด ไปตามถนนสุขุมวิทถึงศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการรวมระยะทาง 23.5 กิโลเมตร
1.2 อาณาเขตของเทศบาลตำบลบางพลี
ทิศเหนือ |
ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของคลองบางเสือตาย ไปทางทิศเหนือ200 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นขนานจากฝั่งเหนือของคลองสำโรงไปทางทิศตะวันออกถึงฝั่งตะวันตกของคลองตาแดงซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2 |
ทิศใต้ |
จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นขนานกับฝั่งใต้ของคลองสำโรงไปทางทิศตะวันตกถึงฝั่งตะวันออกของคลองบางกระบือ ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4 |
ทิศตะวันออก |
จากหลักเขตที่ 2 เลียบฝั่งคลองตาแดงไปทางทิศใต้ผ่านคลองสำโรงและเป็นเส้นตรงไปถึงจุดที่ห่างจากฝั่งใต้ของคลองสำโรงเป็นระยะ ทาง 200 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 3 |
ทิศตะวันตก |
จากหลักเขตที่ 4 เลียบตามฝั่งคลองบางกระบือไปทางทิศเหนือผ่านคลองสำโรง แล้วเลียบตามฝั่งตะวันออกของคลองบางเสือตายไปจน บรรจบหลักเขตที่ 1 |
1.3 ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
สภาพพื้นที่ทั่วไปของเทศบาลตำบลบางพลี เป็นที่ราบลุ่มตั้งอยู่ขนานกับริมฝั่งคลองสำโรงทั้งสองฝั่งซึ่งเป็นคลองสายสำคัญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตท้องที่อำเภอพระประแดงผ่านท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ เลยไปอำเภอบางบ่อ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากนั้นยังมีคลองซอยเชื่อมกับคลองสำโรงอีกหลายสาย คือ คลองบางกระบือ คลองบางเสือตาย คลองบางพลี คลองตาคล้อย คลองบางฝางล่าง คลองตัน คลองตาแดง คลองขุด คลองบัวคลี่ คลองกู้พารา คลองบางฝางบน คลองเจ๊ก และคลองชลประทานอีกหลายสาย
เนื่องจากการคมนาคมแต่เดิมใช้ทางน้ำ ประชาชนจึงมักตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองโดยตลอด ปัจจุบันความเจริญมีมากขึ้น มีเส้นทางคมนาคมทางบกที่สะดวกและรวดเร็วกว่า ประชาชนจึงสัญจรไปมา ทางบก การสัญจรทางน้ำจึงลดน้อยลง
ลักษณะภูมิอากาศเย็นสบายไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน ในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ของทุกปีจะมีฝนตกชุก
2. ด้านการเมือง การบริหาร
เทศบาลตำบลบางพลี มีสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 และ ประกอบด้วย
ฝ่ายบริหาร
- นายพัฒนพงศ์ จงรักดี นายกเทศมนตรี
- นายชะออม สังข์ทอง รองนายกเทศมนตรี (1)
- นายสมนึก ศรีสุมล รองนายกเทศมนตรี (2)
- นายอัศวิน สังข์ทอง ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
- นายนัทธพงศ์ จงรักดี เลขานุการนายกเทศมนตรี
ฝ่ายนิติบัญญัติ
- นางวรินทร์ จงรักดี ประธานสภาเทศบาล
- นางสาวทิพย์สุณี สกุลศิริภิรมย์ รองประธานสภาฯ
- นายปรีชา โชติกาล สมาชิกสภาฯ
- นายสุรินทร์ หงส์เส็ง สมาชิกสภาฯ
- นายสมชาย เงาภู่ทอง สมาชิกสภาฯ
- นายธเนศ เลาหะจินดา สมาชิกสภาฯ
- นายปชาบดี ชมมาลี สมาชิกสภาฯ
- นางนิตยา ภู่ก๋ง สมาชิกสภาฯ
- นายพรรษพล มกพูลทรัพย์ สมาชิกสภาฯ
- นายอภิกิตย์ แก้วน้ำค้าง สมาชิกสภาฯ
- นายสมพร ศรีวิลัย สมาชิกสภาฯ
- นายไตรศักดิ์ ศรนอกนิติรัฐ สมาชิกสภาฯ
-
ประชากร
3.1 ข้อมูลประชากร ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 (ที่มา งานทะเบียนราษฎร)
ชุมชน จำนวน 9 แห่ง
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2,206 ครัวเรือน
จำนวนประชากรทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 11,843 คน
ช่วงอายุ (ปี) |
จำนวนประชากรชาย(ชาย) |
จำนวนประชากร(หญิง) |
ทารก - 6 |
1,515 |
1,348 |
7 - 12 |
1,643 |
1,586 |
13 - 17 |
214 |
198 |
18 - 60 |
2,002 |
2,108 |
60 – ขึ้นไป |
572 |
799 |
รวม |
5,908 |
5,935 |
- จำนวนประชากรแฝง ประมาณ 10,000 คน
- จำนวนประชากรที่พิการหรือทุพลภาพหรือป่วยเรื้อรังในเขตพื้นที่ 59 คน
- ความหนาแน่นของประชากร 2,507 คน/ตร.กม.
- อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ตั้งแต่ปี 2549-2550 ร้อยละ 0.90
- อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ตั้งแต่ปี 2551-2552 ร้อยละ 0.70
- ลักษณะอาชีพของประชากร
- จำนวนประชากรในเขตประกอบอาชีพเกษตรกรรม 60 คน
- จำนวนประชากรในเขตประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม 1,840 คน
- จำนวนประชากรในเขตประกอบอาชีพค้าขาย 120 คน
- สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
1. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด วัดบางพลีใหญ่กลาง
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางพลี
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย
1. โรงเรียนศรีดรุณ
- โรงเรียนสันต์เสริมวิทย์
- โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่ใน
- โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบางพลี
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่งประกอบด้วย
1. โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง
กีฬา นันทนาการ/พักผ่อน
- สนามฟุตบอล จำนวน 2 แห่ง
- สนามบาสเกตบอล จำนวน - แห่ง
- สนามตะกร้อ จำนวน - แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง
- สนามเด็กเล่น จำนวน 3 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ (ถ้ามี) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
- เป็นของรัฐบาล จำนวน 1 แห่ง
โรงพยาบาลบางพลี
- เตียงคนไข้ จำนวน 200 เตียง
- ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลบางพลี
- คลินิกเอกชน จำนวน 1 แห่ง
บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัดในเขตพื้นที่
- แพทย์ จำนวน 15 คน
- พยาบาล จำนวน 74 คน
- ทันตแพทย์ จำนวน 5 คน
- เภสัชกร จำนวน 9 คน
- เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จำนวน 1 คน
- อสม. จำนวน 100 คน
ผู้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (จำนวนต่อปี)
- ท้องถิ่น 719 คน
- รัฐบาล 194,051 คน
- ผู้ป่วยใน 6,856 คน
- ผู้ป่วยนอก 719 คน
สาเหตุการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง
- อุบัติเหตุ 115 ราย/ปี คิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น 30,130.75 บาท
- สาเหตุอื่น 1,591 ราย/ปี คิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น 120,916 บาท
- ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง
5 อันดับแรก
- ท้องเสีย
- ปอดบวม
- ไข้เลือดออก
- หัวใจชนิดอื่น ๆ
- เบาหวาน
คุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (จากสถิติในรอบปีที่ผ่านมา)
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุจากรถยนต์ จำนวน 24 คน
- จำนวนคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์และประชาชน จำนวน 262 คดี
- จำนวนคดีเสียชีวิต ร่างกาย และเพศ จำนวน 55 คดี
- จำนวนอุบัติเหตุจากรถยนต์ จำนวน 114 ครั้ง
- ระบบบริการขั้นพื้นฐาน
5.1 การคมนาคม/ขนส่ง
ในพื้นที่เทศบาลมีรถยนต์วิ่งตลอดทั้งวัน การติดต่อคมนาคมสะดวดทั้งทางบกและทางน้ำการเดินทางมายังพื้นที่เทศบาลตำบลบางพลี เดินทางโดยรถยนต์เป็นหลักมีถนนสายหลักอยู่ 2 สาย คือ
1) เดินทางจากกรุงเทพ ฯ ผ่านเขตพระโขนงตามถนนสุขุมวิท ถึงทางแยกถนนบางนา-ตราด กม.12 แยกเข้าถนนสายกิ่งแก้ว ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าเทศบาลตำบลบางพลี
2) เดินทางจากกรุงเทพ ฯ ตามถนนสุขุมวิทผ่านทางแยกถนนบางนา-ตราด ถึงตำบลสำโรงเหนืออำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เข้าถนนสายเทพารักษ์ ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงถนนกิ่งแก้วแยกเข้าเทศบาลตำบลบางพลี
3) จากเขตลาดกระบัง โดยถนนสายกิ่งแก้ว-ลาดกระบังถึงทางแยกบางนา-ตราด กม. 12 เข้าถนนสายกิ่งแก้วถึงทางแยกเข้าเทศบาลตำบลบางพลี
4) การเดินทางทางน้ำ มีลำคลองสำโรงไหลผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลีและสำนักงานเทศบาลตำบลบางพลี
5) มีคลองซอยต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อจากคลองสำโรงอีกหลายสายซึ่งประชาชนในพื้นที่ยังใช้ในการสัญจรไปมาทางน้ำอยู่
- ถนนหลัก 8 สาย
- ถนนในซอย 15 สาย
ประเภทของถนน
- ถนนลูกรัง - สาย
- ถนนลาดยาง 2 สาย
- ถนนคอนกรีต 23 สาย
ประเภทของสะพาน
- สะพานคอนกรีต 5 แห่ง
- สะพานไม้ 3 แห่ง
- คลองที่เป็นทางสัญจรทางน้ำ 7 แห่ง
5.2 การไฟฟ้า
- จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 2,091 แห่ง
- พื้นที่ที่ได้รับบริการไฟฟ้า ร้อยละ 100 ของพื้นที่ทั้งหมด
- ไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟฟ้าส่องสว่าง) จำนวน 250 จุด ครอบคลุมถนน 23 สาย
5.3 การประปา
- จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปา 2,091 ครัวเรือน
- หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา การประปานครหลวงสาขาสมุทรปราการและสาขาสุวรรณภูมิ
- พื้นที่ได้รับบริการร้อยละ 100
5.4 โทรศัพท์
- พื้นที่ได้รับบริการร้อยละ 100
- ระบบเสียงตามสาย/หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการครอบคลุมร้อยละ 95 ของพื้นที่
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
- การไปรษณีย์ อยู่ในความรับผิดชอบของการไปรษณีย์บางพลี
- ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง ค้าขาย และอุตสาหกรรม
มีโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ 16 แห่ง ซึ่งคนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มาจากท้องถิ่นอื่น
- รายได้/ประชากร รายได้เฉลี่ยของประชากร 63,000/คน/ปี
- เกษตรกรรม 25 ครัวเรือน
6.2 การบริการ
- โรงแรม - แห่ง
- ธนาคาร 8 แห่ง
- โรงภาพยนตร์ 1 แห่ง
6.3 การท่องเที่ยว
- จำนวนแหล่งท่องเที่ยว 4 แห่ง
วัดบางพลีใหญ่ใน,วัดบางพลีใหญ่กลาง,ตลาดโบราณบางพลี,ศาลเจ้าพ่อบางพลี
6.4 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- ลักษณะการประกอบอุตสาหกรรมในท้องถิ่น 15 ประเภท
- โรงงาน 15 แห่ง
- จำนวนแรงงาน 1,550 คน
- เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดสมุทรปราการ |
||
เทศบาลตำบลบางพลี |
||
จำนวนประชากรชาย |
5,908 |
คน |
จำนวนประชากรหญิง |
5,935 |
คน |
จำนวนครัวเรือน |
2,206 |
ครัวเรือน |
พื้นที่ |
1,875 |
ไร่ |
ข้อมูลทางด้านการเกษตร(ทำนา)
No Data Available
ข้อมูลด้านการเกษตร (ทำไร่)
No Data Available
แหล่งน้ำทางการเกษตร(ธรรมชาติ)
แหล่งน้ำธรรมชาติ |
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
แม่น้ำ |
0 |
0 |
0 |
0 |
ห้วย/ลำธาร |
0 |
0 |
0 |
0 |
คลอง |
1 |
0 |
1 |
0 |
หนองน้ำ/บึง |
0 |
0 |
0 |
0 |
แหล่งน้ำทางการเกษตร (ที่มนุษย์สร้าง)
แหล่งน้ำธรรมชาติ |
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
แก้มลิง |
0 |
0 |
0 |
0 |
อ่างเก็บน้ำ |
0 |
0 |
0 |
0 |
ฝาย |
0 |
0 |
0 |
0 |
ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
แหล่งน้ำกิน |
ไม่มี |
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
ทั่วถึง |
ไม่ทั่วถึง |
บ่อบาดาลสาธารณะ |
0 |
0 |
0 |
0 |
0 |
บ่อน้ำตื้นสาธารณะ |
0 |
0 |
0 |
0 |
0 |
ประปาหมู่บ้าน(ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) |
0 |
0 |
0 |
0 |
0 |
ระบบประปา(การประปาส่วนภูมิภาค) |
0 |
1 |
0 |
1 |
0 |
แหล่งน้ำสาธารณะ |
0 |
0 |
1 |
0 |
0 |
8.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
- ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 95 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- วัด จำนวน 2 วัด คือ วัดบางพลีใหญ่กลาง , วัดบางพลีใหญ่ใน
- ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2.5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2.5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- โบสถ์ จำนวน - แห่ง
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
ประเพณีรับบัว วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี
กิจกรรมโดยสังเขป นมัสการพ่อโตทางน้ำ การแสดงวิถีชีวิตชาวบางพลี การประกวดหนุ่มสาวรับบัว
- ประเพณีเข้าพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
กิจกรรมโดยสังเขป แห่เทียนทางน้ำ แห่เทียนทางเรือ
- ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค
9.2 ป่าไม้ ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้
9.3 ภูเขา ในเขตเทศบาลไม่มีภูเขา
************************************